ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Crape ginger
Crape ginger
Cheilocostus speciosus (J.König) C.Specht (Syn. Costus speciosus (Koen.) Sm.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Costaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cheilocostus speciosus (J.König) C.Specht (Syn. Costus speciosus (Koen.) Sm.)
 
  ชื่อไทย เอื้องหมายนา
 
  ชื่อท้องถิ่น ซูเลโบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ซูแลโบ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เอื้องหมายนา(คนเมือง,ไทใหญ่,ไทลื้อ), กู่เก้ง(ม้ง), ลำพร้อก,ลำพิย้อก(ลั้วะ), ดื่อเหม้(ยึ)(ปะหล่อง) ชิ่งก๋วน(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เอื้องหมายนาเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น สูง 1.5-3 เมตร
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 5-8 ซม. ยาว 15-40 ซม.
 
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกมีแต้มสีเหลืองหรือชมพู
 
  ผล ผลแห้ง แตกได้ รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม เมื่อสุกสีแดง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หน่ออ่อน ลวกกินจิ้มน้ำพริก(ไทใหญ่)
หน่ออ่อน ประกอบอาหารโดยหั่นแล้วผัดใส่เนื้อหรือใส่ แกงเนื้อ(เมี่ยน)
ลำต้น รับประทานสดแก้นิ่ว โดยตัดให้มีความยาวหนึ่งวาของคนที่เป็นนิ่ว เอาไปย่างไฟแล้วคั้นน้ำให้ดื่ม(ปะหล่อง)
- ลำต้น ต้มน้ำดื่มช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
น้ำที่คั้นจากลำต้น หยอดลงในหู รักษาอาการหูน้ำหนวก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ลำต้น นำไปอังไฟแล้วบีบน้ำดื่มแก้โรคนิ่ว(ปะหล่อง)
ใบ ใช้เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอีกหลายชนิด(ลั้วะ)
ลำต้นส่วนยอด นำมาทุบแล้วหมกไฟนำมาอุดรูหูรักษาอาการหูอื้อ(ลั้วะ)
หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ อาการหน้าซีด(ม้ง)
ราก ดองเหล้าดื่มบำรุงกำลังหรือนำใบไปรมไฟ บีบเอาน้ำหยอดหูรักษาโรคหูเป็นหนอง(ไทใหญ่)
- ลำต้น นำไปต้มกินเชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง(คนเมือง)
ใบ ใช้ประกอบพิธีสู่ขวัญควาย(ลั้วะ)
ทั้งต้น ใช้ในพิธีกรรมก่อนการทำนาของชาวไทลื้อ(พิธีแฮกข้าว)โดยนำไปมัดติดกับตะแหลวร่วมกับดอกปิ้งแดงแล้วนำไปใส่ไม้ปักไว้ที่ไร่นาก่อนปลูกข้าวเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่ว่าต่อไปจะมาทำการปลูกข้าวที่ที่นาผืนนั้นๆช่วยให้ข้าวเจริญงอกงาม (ปัจจุบันไม่ค่อยทำกันแล้ว)(ไทลื้อ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบทั่วไป ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณเชิงเขา ริมน้ำตก และริมทางน้ำ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง